Categories
ปุ๋ยอินทรีย์ เกษตรอินทรีย์

วิธีทำลูกแป้งข้าวหมาก แบบเพาะเชื้อเอง

การทำลูกแป้งข้าวหมาก แบบเพาะเชื้อเอง เป็นวิธีการทำลูกแป้งข้าวหมากในกรณีที่ไม่สามารถหาเชื้อจากลูกแป้งข้าวหมากเก่าได้ ซึ่งสามารถใช้น้ำส้มสายชูแทนได้ เพราะมีจุลินทรีย์หรือยีสต์ประเภทเดียวกัน ส่วนผสมลูกแป้ง ข้าวสารข้าวเจ้าเก่า  1 ถ้วยตวง หรือ 16 ช้อนโต๊ะ น้ำส้มสายชู 0.5 ช้อนชา ขิงแก่สด 1 ช้อนโต๊ะ ข่าแก่สด 2 ช้อนโต๊ะ กระเทียมไทยสด 1 ช้อนโต๊ะ พริกไทยขาว 1 ช้อนโต๊ะ น้ำเปล่า 2 ช้อนโต๊ะ วิธีทำลูกแป้งข้าวหมาก นำข้าวสารข้าวเจ้าเก่ามาล้างน้ำให้สะอาด และแช่น้ำไว้ประมาณ 2-3 ชั่วโมง นำข้าวที่แช่แล้วมาโม่บดหรือตำให้ละเอียดที่สุด พร้อมทำให้สะเด็ดน้ำด้วยการห่อผ้าขาว 2 ชั้น ทิ้งไว้สักพักจนได้เนื้อแป้งเป็นก้อนเหลวที่สามารถปั้นเป็นก้อนได้ ทั้งนี้ อาจใช้แป้งข้าวเจ้าสำเร็จรูปแทนได้ เพื่อเป็นการประหยัดเวลา สับสมุนไพร ขิงแก่สด ข่าแก่สด กระเทียมไทยสด ให้ละเอียด และตำให้แหลกพร้อมกับพริกไทยขาว เติมน้ำเปล่า ลงในภาชนะ และนำสมุนไพรทีตำแล้วใส่ลงไป ผสมให้เข้ากันและคั้นเอาเฉพาะน้ำสมุนไพร ส่วนกากสามารถนำไปโรยรอบโคนต้นพืชเพื่อป้องกันแมลงศัตรูพืชได้ นำข้าวที่บดละเอียดใส่ภาชนะผสมกับน้ำสมุนไพรผสมให้เป็นเนื้อเดียวกัน เพื่อช่วยลดปริมาณเชื้อรา […]

Categories
เกษตรอินทรีย์

การกำจัดศัตรูพืชด้วยสมุนไพร

การกำจัดศัตรูพืชด้วยสมุนไพร การบํารุงดูแลรักษาพืช นอกจากการให้ปุ๋ย ให้นํ้า รวมทั้งตัดแต่งกิ่งก้านให้อยู่ในสภาพที่ต้องการแล้ว การป้องกันและกําจัดศัตรูพืชเป็นสิ่งสําคัญเช่นกัน เนื่องจากการเจริญเติบโตของพืชในธรรมชาติจะมีศัตรูต่างๆ คอยรบกวน เช่น โรคที่เกิดจากเชื้อรา แบคทีเรีย หรือ ไส้เดือนฝอย แมลงปากกัด เช่น ด้วง หนอนต่างๆ หรือ แมลงปากดูด เช่น เพลี้ยไฟ เพลี้ยแป้ง เพลี้ยอ่อน ไรแดง เป็นต้น ในการทำเกษตรอินทรีย์ การใช้สารออกฤทธิ์จากพืชสมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาป้องกันและกำจัดศัตรูพืชเป็นทางเลือกที่ดี แต่สารออกฤทธิ์จะแตกต่างกันไป ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของสมุนไพรที่นำมาใช้ แบ่งได้ตามลักษณะการทำงานได้ ดังนี้ สารไล่แมลง เป็นสารที่มีกลิ่น ระเหยง่าย ได้จากพืชที่มีน้ำมันหอมระเหย เช่น ตะไคร้หอม ข่า โหระพา ผกากรอง ว่านน้ำ กานพลู ยูคาลิปตัส ผิวส้ม ดาวเรือง สารล่อแมลง เป็นสารที่มีกลิ่น ระเหยง่ายได้จากพืชที่มีน้ำมันหอมระเหย เช่นเดียวกันกับสารไล่แมลง แต่จะมีการทำงานตรงกันข้ามคือ ล่อให้แมลงเข้ามาหา เช่น ใบแก้ว ใบพลับพลึง เล็บมือนาง ดอกคำแสด ซึ่งสามารถดึงดูดแมลงวันทอง […]

Categories
ปุ๋ยอินทรีย์ เกษตรอินทรีย์

วิธีทำปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยหมักชีวภาพ

ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ย หมายถึง สารที่ใส่ลงในดินเพื่อให้ธาตุอาหารแก่พืช ซึ่งโดยทั่วไปแล้วพืชต้องการธาตุอาหารทั้งหมด 16 ชนิด ได้แก่ ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) โพแทสเซียม (K) เป็นธาตุหลักที่เป็นแร่ธาตุพื้นฐานที่พืชต้องการและจำเป็นต้องใช้ในปริมาณมาก แคลเซียม (C) แมกนีเซียม (Mg) กำมะถัน (S) เป็นธาตุรองที่พืชต้องการใช้ในปริมาณที่น้อย หากขาดหรือพร่องไปก็ไม่ส่งผลกระทบที่เสียหายรุนแรงมากนัก เหล็ก (Fe) แมงกานีส (Mn) โบรอน (B) โมลิบดินัม (Mo) ทองแดง (Cu) สังกะสี (Zn) คลอรีน (Cl) เป็นธาตุเสริมพืชต้องการใช้ในปริมาณที่น้อยมาก แต่พืชก็ขาดไม่ได้เช่นกัน ออกซิเจน (O) ไฮโดรเจน (H) คาร์บอน (C)  เป็นธาตุที่พืชได้รับจากน้ำและอากาศ และในธรรมชาติ ธาตุอาหารหลักของพืชหรือธาตุปุ๋ย คือ ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และโพแทสเซียม (K) เป็นธาตุที่พืชต้องการในปริมาณมากเมื่อเทียบกับธาตุอื่นๆ […]

Categories
เกษตรอินทรีย์

เกษตรอินทรีย์ คืออะไร

เกษตรอินทรีย์คืออะไร เกษตรอินทรีย์ คือ การทำเกษตรกรรมที่ให้ความสำคัญในการปรับปรุงดิน โดยใช้มูลสัตว์ ซากพืช ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยหมัก ที่ผลิตได้เอง โดยอาศัยกระบวนการทางนิเวศวิทยา ความหลากหลายทางชีวภาพ และวงจรธรรมชาติ ที่มีลักษณะเฉพาะของแต่ละพื้นที่ ผสมผสานองค์ความรู้พื้นบ้าน นวัตกรรม และความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และส่งเสริมความสัมพันธ์ที่เป็นระบบ และคุณภาพชีวิตที่ดีผู้คนและสิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้อง หลักปฏิบัติที่สำคัญที่สุดของเกษตรอินทรีย์ คือ การจัดการดินให้มีความอุดมสมบูรณ์และสมดุล ใช้อินทรียวัตถุและจุลินทรีย์ในการเลี้ยงดินให้มีชีวิต เพราะถ้าดินดี พืชย่อมแข็งแรงและสมบูรณ์ การปรับปรุงดินในแนวทางเกษตรอินทรีย์จะใช้แนวทางชีวภาพเป็นหลัก มีเป้าหมายเพื่อการฟื้นฟูบำรุงดินและปรับปรุงสมดุลของธาตุอาหารในดินไปพร้อมกัน ซึ่งมีการปรับปรุงดินมีหลายวิธี เช่น การจัดการอินทรีย์วัตถุในไร่นา การจัดการใช้ที่ดินอย่างอนุรักษ์ หรือการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ประเภทต่างๆ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด และปุ๋ยชีวภาพ จุดเริ่มต้นของการทำเกษตรอินทรีย์ ก็คือ ดินที่ดี ซึ่งดินจะดีได้นั้นจะต้องมีการเลี้ยงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ เพื่อให้ดินไปเลี้ยงพืช โดยใช้วิธีการห่มดิน การทำวิธีนี้มีประโยชน์หลายอย่าง เช่น ปรับปรุงโครงสร้างดินให้ดี ร่วนซุยขึ้น ช่วยดูดซับธาตุอาหารไว้ให้แก่พืช กระตุ้นให้จุลินทรีย์สร้างอาหารสำหรับพืช ช่วยปรับความเป็นกรดเป็นด่างของดินให้เหมาะสมกับการเติบโตของพืช และสร้างความต้านทานต่อโรคและแมลงให้แก่พืช โดยมีขั้นตอนการทำง่ายๆ ดังนี้ ขั้นตอนการห่มดิน นำปุ๋ยอินทรีย์ (ปุ๋ยอินทรีย์คืออะไร) โรยรอบบริเวณทรงพุ่มใต้ต้นไม้ เพื่อเพิ่มสารอาหารในอินทรียวัตถุให้แก่พืช นำฟางข้าวหรือเศษพืช เช่น ใบไม้ […]